จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


          http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon  จักรกฤษณ์ สำราญใจ กล่าวว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (related literature) หมายถึง  เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ  วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
     http://www.bestwitted.com  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไว้ว่า การทบทวนวรรณกรรม หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังจะทำการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎี แนวคิด อันเชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกรอบแนวคิดและตัวแปรที่เกี่ยวข้องซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
จุดมุ่งหมายของการทบทวนวรรณกรรม
1.การอ้างอิงเชิงทฤษฎี (Theoretical Reference)
2.การอ้างอิงเชิงประจักษ์ (Empirical Reference)
จุดมุ่งหมายของการทบทวน เพื่อให้ทราบว่ามีผู้ใดเคยศึกษาหรือวิจัย มาก่อน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการศึกษาของผู้วิจัยอื่นๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรคที่เคยพบของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1.หนังสือทั่วไป (General Books)
2.หนังสืออ้างอิง (Reference Book)
-สารานุกรม (Encyclopedia)
-พจนานุกรม (Dictionary)
-หนังสือรายปี (Yearbooks)
-บรรณานุกรม (Bibliographies)
-ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes)
-นามานุกรม (Directories)
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
-วิทยานิพนธ์ (Thesis)
-วารสาร (Journals)
-รายงานการวิจัย (Research Report)
-เอกสารทางราชการ
-ไมโครฟิล์ม
-หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
ขั้นตอนในการทบทวนวรรณกรรม
-กำหนดขอบเขตของการทบทวนวรรณกรรม
-ค้นหาเอกสารหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-การเลือกเอกสารและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
-การอ่านเอกสาร
-บันทึกข้อมูล
-การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักการเขียนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
รูปแบบการอ้างอิง
อ้างอิงเชิงอรรถ (Footnote Style ) ท้ายหน้าที่อ้างอิง โดยมีชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ หรือ บทความ ปีที่พิมพ์และหมายเลขหน้า
อ้างอิงระบบ นาม – ปี (Author – Date Style) มีเฉพาะชื่อนามสกุล ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า โดยวงเล็บไว้หลังข้อความที่อ้างอิง
   http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
        หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้ โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
              1. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษามาก่อนแล้วหรือไม่
1.1  รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งตามความ
เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
1.2  รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
              1.3  รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
             1.4  รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม   มากเกินไปและมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
           1.5  รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ลอก
 ข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
                1.6   รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น หรือเป็นการเขียนใน
 เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
1.7 รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความ
คิดอย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
1.8   รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้ ทั้งหมด มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
2. รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
2.1  รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
2.2  รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
2.3   รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่

สรุป
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึง การค้นคว้าศึกษารวบรวมและประมวลผลงานทางวิชาการ เช่น  ผลงานวิจัย  บทความเอกสารทางวิชาการ  และตำราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหรือประเด็นที่ทำการวิจัยเพื่อประเมินประเด็น  แนวความคิด  ระเบียบวิธีการวิจัย  ข้อสรุป  ข้อเสนอแนะจากผลงานวิจัยหรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือประเด็นของปัญหาของการวิจัยก่อนที่จะลงมือทำการวิจัยของตนเองและในบางครั้งอาจมีการทบทวนเพิ่มเติมหลังจากที่ได้ลงมือทำไปบ้างแล้ว

อ้างอิง
จักรกฤษณ์ สำราญใจ  http://netra.lpru.ac.th/~phaitoon สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://www.bestwitted.com สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น