จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาทางจริยธรรม ( Ethical Considerations )

                 องอาจ  นัยพัฒน์ (2548:12)  กล่าวว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

                     http://www.bestwitted.com (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า จริยธรรมของการทำวิจัย โครงสร้างทางจริยธรรมและหลักเกณฑ์ทางด้านศีลธรรม คุณธรรม ที่เป็นที่ยอมรับของการทำวิจัย มีดังต่อไปนี้
1.สิทธิของบุคคล- ถ้าละเมิดอาจผิดกฎหมาย
2.หลักความยุติธรรม-ผลการวิจัยต้องให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อให้เกิดความอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3.ความซื่อสัตย์ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ต้องซื่อสัตย์ (ห้ามแต่งเติมตัวเลขเด็ดขาดครับ)
4.คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ถ้าผลวิจัยมีความแม่นยำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้วิจัยถึงแม้ผลวิจัยจะออกมาให้แง่ลบ แต่ผู้วางแผนจะได้วางแผนงานล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยคือ ผุ้ว่าจ้าง, ผู้วิจัย และผู้ตอบ ลักษณะของแต่ละกลุ่มมีดังต่อไปนี้
ผู้ว่าจ้างไม่โฆษณาเกินความเป็นจริงจากผลการวิจัย ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และรักษาข้อผูกมัดทางวิจัย เช่น หลังการวิจัย 10 ปีผู้วิจัยจึงจะสามารถขายข้อมูลได้ ผู้วิจัยต้องมีความรู้ในการทำวิจัย ไม่ควรนำเสนอข้อมูล ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง ต้องนำเสนอผลตามข้อเท็จจริง, ไม่สร้างข้อมูลขึ้นเอง และไม่นำข้อมูลไปขายให้คนอื่นๆผู้ตอบตอบตามความเป็นจริง มีอิสระในการตอบ ไม่ถูกบังคับหรือชักนำในการตอบ มีสิทธิในการปกปิดข้อมูลบางอย่าง เช่น ชื่อ, ที่อยู่  คุณสมบัติที่ดีของผู้วิจัย คือ มีความซื่อสัตย์, มีความรู้, ไม่มีอคติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ หัวข้อวิจัย,ไม่เอาความคิดส่วนตัวมาเป็นเครื่องตัดสินใจผลวิจัย, ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น,เป็นคนช่างสังเกต, ละเอียด, รอบคอบ , มีความอดทน ตรงต่อเวลา, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี,และ รู้จักประหยัดใช้ทรัพยากรในการวิจัย

                     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ


 สรุป
                  การทำผิดพลาดทางจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งในประเด็นนี้ บางกรณีเจตนาที่ดี ความเมตตากรุณาที่มีต่อผู้ป่วยอาจอยู่เหนือสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีของการวิจัยนั้นสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยใดก็ตามต้องถือว่าไม่ใช่การรักษา เพราะฉะนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าหรือไม่เข้าร่วม ร่วมมือหรือถอนตัวได้ตลอดเวลาความไม่รู้ที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งก็คือ หลักจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางประเด็นได้รับความสำคัญน้อย เช่น การเคารพศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมวิจัย (Respect for person) ซึ่งแสดงออกทางหนึ่งจากการยินยอมตามที่ได้บอกกล่าว (Informed consent) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เข้าร่วมวิจัยจากความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมวิจัย

 อ้างอิง
                องอาจ นัยพัฒน์.(2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
                 http://www.bestwitted.com  สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม  2555
                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  (2555)  สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น