จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

สมมติฐาน (Hypothesis)

              http://www.gotoknow.org/posts/401198 ได้รวบรวมไว้ว่า สมมติฐาน ( Hypothesis ) มี 2 ชนิด คือ สมมติฐานทางการวิจัย (Research hypothesis) กับสมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) การวิจัยบางเรื่องอาจไม่มีสมมติฐานการวิจัยก็ได้ ส่วนที่ มีสมมติฐานมักเป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เช่น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถนัดทางการเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น  หรือเป็นการวิจัยที่อยู่ในลักษณะที่เป็นการเปรียบเทียบ เช่น ความมีวินัยในตนเองระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยวิธีต่างกัน
                กระบวนการทดสอบสมมติฐาน จะช่วยผู้วิจัยในการตัดสินใจสรุปผลว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรจริงหรือไม่ หรือช่วยใจการตัดสินใจเพื่อสรุปผลว่าสิ่งที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นแตกต่างกันจริงหรือไม่  สำหรับหัวข้อสำคัญที่จะกล่าวถึงคือ ความหมายของสมมติฐาน ประเภทของสมมติฐาน ขั้นตอนการทดสอบสมมุติฐาน ชนิดของความคลาดเคลื่อน ระดับนัยสำคัญ และการทดสอบสมมุติฐานแบบมีทิศทางและแบบไม่มีทิศทาง

                http://itcstatistic.blogspot.com/2009/05/1.html   ได้รวบรวมไว้ว่า  สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้  ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
  1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
 2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
  3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
  4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้

       ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ (http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm)  กล่าวว่า สมมติฐาน(Hypothesis) คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุมีผล เพื่อตอบความมุ่งหมายของงานวิจัยที่ได้วางไว้ เป็นข้อความที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ต้องเป็นประโยคบอกเล่า ตั้งไว้ล่วงหน้า อย่างมีเหตุมีผล โดยศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือเอกสารต่าง ๆ สมมติฐานแต่ละข้อต้องมีตัวแปรที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ตัวใน 2 ลักษณะคือ ลักษณะเปรียบเทียบและความสัมพันธ์

สรุป
                สมมติฐาน (Hypothesis) คือ  การคาดคะเนคำตอบ ที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต ปรากฏการณ์  และการศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมี การทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน

อ้างอิง
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ . สืบค้นเมื่อวันที่  25 พฤศจิกายน 2555. http://www.watpon.com/Elearning/res5.htm.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น