จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

งบประมาณ (Budget)

           เทียนฉาย  กีระนันทน์. (2547 : 99). ได้กล่าวว่า การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
1เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
3ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
4ค่าครุภัณฑ์
5ค่าประมวลผลข้อมูล
6ค่าพิมพ์รายงาน
7ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

               http://mbaru.blogspot.com/2010/01/blog-post_5112.html  (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า งบประมาณ คือ รายละเอียดของแผนการดำเนินงานในการจัดหาและใช้จ่ายเงินและทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับชั่วระยะเวลาหนึ่ง งบประมาณเป็นแผนงานในอนาคตที่แสดงเป็นตัวเลข กิจการใช้งบประมาณเป็นเครื่องมือในการควบคุมการดำเนินงาน

           http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  (2555) ได้รวบรวมไว้ว่า การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
4 ค่าครุภัณฑ์
5 ค่าประมวลผลข้อมูล
6 ค่าพิมพ์รายงาน
7 ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก

สรุป 
            การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
4 ค่าครุภัณฑ์
5 ค่าประมวลผลข้อมูล
6 ค่าพิมพ์รายงาน
7 ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว
8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

อ้างอิง
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://mbaru.blogspot.com/2010/01/blog-post_5112.html.  (2555).  สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555.
สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555.

ภาคผนวก (Appendix)

                   เทียนฉาย  กีระนันทน์. (2547 : 65) ได้กล่าวว่า ภาคผนวกสิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

              ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ(2544 : 392) ได้กล่าวว่า  ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจรายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย

   เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535 : 236) ได้กล่าวว่าภาคผนวกเป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป จึงไม่เหมาะแก่การนำเสนอในตัวเรื่อง

สรุป
ภาคผนวก (Appendix)  เป็นตอนสุดท้ายของรายงานวิจัย ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความจำเป็น หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาคผนวกได้แก่ ภาคผนวกคือที่สำหรับรวบรวมข้อมูลและข้อสนเทศทั้งหลาย ที่ไม่ถึงกับจำเป็นที่จะต้องเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่ก็อาจจะมีความสำคัญในการขยายความสาระสำคัญบางสาระเพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น และข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญมากที่ควรเสนอไว้ในตัวเรื่อง แต่จำนวนรายการของข้อมูลหรือข้อสนเทศชุดนั้นมากเกินไป

อ้างอิง
เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิชิต ฤทธิ์จรูญ(2544)ระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือราชภัฏพระนคร.
เรืองอุไร  ศรีนิลทา(2535)ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกสารอ้างอิง (References)

                 วัลลภ  ลำพาย (2547 : 178) กล่าวว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ
                           http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3 ได้กล่าวไว้ว่า ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย) การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลางทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al ผู้แต่ง บทความ ชื่อย่อวารสาร ปีที่พิมพ์ เดือน ; ปีที่(ฉบับที่) : หน้าแรก-หน้าสุดท้าย
                  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809  (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่าเอกสารอ้างอิง หมายถึง หนังสือหรือเอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการค้นคว้าที่ผู้ทำโครงงานใช้ค้นคว้าหรืออ่านเพื่อศึกษาหา ข้อมูลหรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการทำโครงงานโดยให้เขียนชื่อหนังสือที่เป็นภาษาไทยให้ ครบทุกเล่มก่อน และต่อด้วยหนังสือภาษาอังกฤษ โดยเรียงชื่อผู้แต่งตามอักษรก่อนหลัง

สรุป
               เอกสารอ้างอิง ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิงอันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย) การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศการเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style"ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลางทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et alผู้แต่ง บทความ ชื่อย่อวารสาร ปีที่พิมพ์ เดือน ; ปีที่(ฉบับที่) : หน้าแรก-หน้าสุดท้าย

อ้างอิง
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3 สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2dc6b9da35920809  (2555)  สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555

การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน (Administration & Time Schedule)

           http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637 ได้กล่าวว่า  การบริหารการวิจัย หมายถึง การดำเนินการต่างๆ เพื่อให้มีการผลิตหรือสร้างสรรค์การวิจัย การวางแผนการวิจัย การติดตามและควบคุมดูแลการวิจัยให้ดำเนินไปตามแผน การเผยแพร่และใช้ผลงานวิจัย                       

                เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) กล่าวว่า ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

          http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  ได้รวบรวมไว้ว่า การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

สรุป 
               ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/424637 สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555
เสนาะ ติเยาว์. (2544).  หลักการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข

สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). กล่าวว่า ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการไว้หลายประการ อาทิเช่น ปัญหาการเลือกวิธีการที่ใช้ในการวิจัยระหว่างเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ทักษะในการทำวิจัยของครู วิธีการที่การพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยของครู การอ้างอิงผลสรุปจากการวิจัย ความตรงของการวิจัยซึ่งดำเนินการโดยครูอาจไม่มีประสบการณ์เพียงพอในการทำวิจัย และจรรยาบรรณของการทำวิจัยกับนักเรียน  แนวทางการแก้ไข  อ่านและศึกษาการวิจัยหลายๆตัวอย่างหรืออาจจะศึกษาโดยกรณีตัวอย่างที่เป็นห้องเรียน หรือนักเรียน อาจเปรียบเทียบชั้นเรียนในปีนี้กับชั้นเรียนปีที่แล้ว

                http://nitytyyy.blogspot.com/2012/11/18.html กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข
1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2.สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4.ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง      
                                                                                                                                                                                             
            ภิรมย์ กมลรัตนกุล  (2531:8) ได้กล่าวว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้แนวทางการแก้ไข  นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

สรุป
            การทำวิจัย ต้องพยายามหลักเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้นให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้ กรณีดังกล่าว นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการในการแก้ไข อุปสรรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อย่าให้ "ความเป็นไปได้" (feasibility) มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้
อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คนสามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
2. ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
3. มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
4. นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
5. ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย
แนวทางการแก้ไข
1. กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
2.สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3. ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
4.ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
5. มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

อ้างอิง
สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.
อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข. http://nitytyyy.blogspot.com/ 2012/11/18.html  สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2555
ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531). หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย. กรุงเทพมหานคร : หอสมุดกลาง.

ผลหรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits & Application)


http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm   (2555) ได้รวบรวมไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   (2555) ได้รวบรวมไว้ว่า  เป็นการย้ำ ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่ จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง

พจน์ สะเพียรชัย. (2516). กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ

 สรุป 
                  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย คือ เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิด ชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย

อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm  (2555)  สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม  2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm   (2555) สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม  2555
พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ:    วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร

ข้อจำกัดในการวิจัย (Limitation) / ขอบเขตการทำวิจัย

                  นิรันดร์  จุลทรัพย์ (2552:293) กล่าวว่า ข้อจำกัดของการวิจัยเป็นการแจ้งให้ผู้อ่านรายงานการวิจัยได้ทราบว่าในการ ศึกษาวิจัยนี้มีอุปสรรคและข้อจำกัดอะไรบ้างที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

                     http://blog.eduzones.com (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลา

                     จำเรียง  กูรมะสุวรรณ (2529:162) กล่าวว่า ในการทำวิจัยถึงแม้ว่าจะมีการวางแผนอย่างดีแล้วก็ตาม ความคลาดเคลื่อน (error) ที่เกิดขึ้นเองจากลักษณะของกลุ่มตัวอย่างหรือจากตัวแปรภายนอก ฯลฯ ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถควบคุมหรือหลีกเลี่ยงได้และสิ่งนั้นมีผลต่อข้อมูลที่เก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้ผลการวิจัยไม่สมบูรณ์ เกิดความบกพร่อง จึงควรจะกล่าวไว้ให้ผู้อ่านได้ทราบพร้อมทั้งเหตุผลทั้งนี้เพื่อที่ผู้จะนำผลการวิจัยไปใช้ จะได้พิจารณาความจำกัดของการวิจัยเรื่องนั้นๆ ด้วย

สรุป
ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งอาจทำได้โดยการกำหนดขอบเขตของเรื่องให้แคบลงเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของสาขาวิชา หรือกำหนดกลุ่มประชากร สถานที่วิจัย หรือระยะเวลาโดยมุ่งจุดสนใจไปอยู่ที่ตัวปัญหาเฉพาะเรื่อง กลุ่มประชากรตัวอย่าง และระดับความเชื่อถือให้อยู่ในขอบเขตที่สามารถทำการวิจัยได้

อ้าวอิง
นิรันดร์  จุลทรัพย์.การ วิจัยทางจิตวิทยาการแนะแนว.(พิมพ์ครั้งที่2):นำศิลป์โฆษณา.2552.
http://blog.eduzones.com (2555)   สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม  2555
จำเรียง  กูรมะสุวรรณ.  สถิติและการวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่1).  กรุงเทพฯ:สามเจริญพา

ปัญหาทางจริยธรรม ( Ethical Considerations )

                 องอาจ  นัยพัฒน์ (2548:12)  กล่าวว่า จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

                     http://www.bestwitted.com (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า จริยธรรมของการทำวิจัย โครงสร้างทางจริยธรรมและหลักเกณฑ์ทางด้านศีลธรรม คุณธรรม ที่เป็นที่ยอมรับของการทำวิจัย มีดังต่อไปนี้
1.สิทธิของบุคคล- ถ้าละเมิดอาจผิดกฎหมาย
2.หลักความยุติธรรม-ผลการวิจัยต้องให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ก่อให้เกิดความอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
3.ความซื่อสัตย์ ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ต้องซื่อสัตย์ (ห้ามแต่งเติมตัวเลขเด็ดขาดครับ)
4.คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย ถ้าผลวิจัยมีความแม่นยำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้วิจัยถึงแม้ผลวิจัยจะออกมาให้แง่ลบ แต่ผู้วางแผนจะได้วางแผนงานล่วงหน้าได้อย่างถูกต้อง
กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยคือ ผุ้ว่าจ้าง, ผู้วิจัย และผู้ตอบ ลักษณะของแต่ละกลุ่มมีดังต่อไปนี้
ผู้ว่าจ้างไม่โฆษณาเกินความเป็นจริงจากผลการวิจัย ไม่เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความลับจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และรักษาข้อผูกมัดทางวิจัย เช่น หลังการวิจัย 10 ปีผู้วิจัยจึงจะสามารถขายข้อมูลได้ ผู้วิจัยต้องมีความรู้ในการทำวิจัย ไม่ควรนำเสนอข้อมูล ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง ต้องนำเสนอผลตามข้อเท็จจริง, ไม่สร้างข้อมูลขึ้นเอง และไม่นำข้อมูลไปขายให้คนอื่นๆผู้ตอบตอบตามความเป็นจริง มีอิสระในการตอบ ไม่ถูกบังคับหรือชักนำในการตอบ มีสิทธิในการปกปิดข้อมูลบางอย่าง เช่น ชื่อ, ที่อยู่  คุณสมบัติที่ดีของผู้วิจัย คือ มีความซื่อสัตย์, มีความรู้, ไม่มีอคติต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ หัวข้อวิจัย,ไม่เอาความคิดส่วนตัวมาเป็นเครื่องตัดสินใจผลวิจัย, ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น,เป็นคนช่างสังเกต, ละเอียด, รอบคอบ , มีความอดทน ตรงต่อเวลา, มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี,และ รู้จักประหยัดใช้ทรัพยากรในการวิจัย

                     http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  (2555)  ได้รวบรวมไว้ว่า การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ? ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ? ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผลเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ


 สรุป
                  การทำผิดพลาดทางจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยนั้น ส่วนมากเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์มากกว่าที่จะเกิดจากเจตนาไม่ดี ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ที่พบบ่อยได้แก่ การไม่ตระหนักว่านอกเหนือจากปัญหาสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องสิทธิก็สำคัญ เราเคยชินกับการให้การดูแลรักษาเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งในประเด็นนี้ บางกรณีเจตนาที่ดี ความเมตตากรุณาที่มีต่อผู้ป่วยอาจอยู่เหนือสิทธิของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง แต่ในกรณีของการวิจัยนั้นสิทธิของผู้เข้าร่วมวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการวิจัยใดก็ตามต้องถือว่าไม่ใช่การรักษา เพราะฉะนั้นผู้เข้าร่วมวิจัยมีสิทธิเต็มที่ในการเข้าหรือไม่เข้าร่วม ร่วมมือหรือถอนตัวได้ตลอดเวลาความไม่รู้ที่พบบ่อยอีกประการหนึ่งก็คือ หลักจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางประเด็นได้รับความสำคัญน้อย เช่น การเคารพศักดิ์ศรีของผู้เข้าร่วมวิจัย (Respect for person) ซึ่งแสดงออกทางหนึ่งจากการยินยอมตามที่ได้บอกกล่าว (Informed consent) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้เข้าร่วมวิจัยจากความเสี่ยงในการถูกละเมิดสิทธิอันเป็นผลมาจากการเข้าร่วมวิจัย

 อ้างอิง
                องอาจ นัยพัฒน์.(2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
                 http://www.bestwitted.com  สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม  2555
                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm  (2555)  สืบค้นเมื่อ3 ธันวาคม  2555