จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data Analysis )



.               บุญเรียง ขจรศิลป์ (2539:189)ได้กล่าวไว้ว่า  การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย ซึ่งการเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมนั้น ผู้วิจัยควรทราบว่าข้อมูลที่มีอยู่นั้นเป็นข้อมูลชนิดอะไร สถิติที่เลือกมาใช้นั้นมีข้อตกลงเบื้องต้นอะไรบ้าง และค่าสถิติต่างๆ นั้นจะใช้ในสถานการณ์อะไรบ้าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีใช้ในการวิจัย นั้นขึ้นอยู่กับว่าการรวบรวมข้อมูลในการวิจัยนั้น รวบรวมมาจากสมาชิกทุกหน่วยในกลุ่มประชากรหรือรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประชากร ถ้ารวบรวมจากกลุ่มประชากรสถิติที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นเป็น พรรณนาสถิติ แต่ถ้าการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเป้าหมายในการวิจัยนั้น ต้องการที่จะสรุปอ้างอิงไปหากลุ่มประชากรสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคืออนุมานสถิติ

รัตนะ  บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) ได้รวบรวมไว้ว่า  คำถามแรกสุดที่นักวิจัยต้องตอบให้ได้คือข้อมูลเป็นแบบใด..มี 2 อย่างคือ ข้อมูลเชิงคุณภาพ  ( Qualitative  data ) และข้อมูลเชิงปริมาณ( Quantitative  data )การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ  อาจเป็นข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมหรือปรากฏการณ์อื่น ๆ   เป็นการมุ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ( ตัวแปร ) มีเงื่อนไขว่า...
                1 . การวิเคราะห์ข้อมูลเริ่มทำไปพร้อม ๆ กับการเก็บข้อมูล 
                2 . ต้องมีข้อมูลจากมุมมองของคนใน
                3 . ต้องอาศัยสมมุติฐานชั่วคราว
                4 . ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล
                1 . การตรวจสอบข้อมูล  สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การตรวจสอบแบบสามเส้า คือ
1  ด้านข้อมูล  เพื่อดูความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
                                2 . ด้านผู้วิจัย  เพื่อดูความเป็นกลางไม่ลำเอียง  ดูจากนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำร่วมกันตรวจสอบข้อมูล
                                3 . ด้านทฤษฎี  เพื่อยืนยันว่าแนวคิดทฤษฎีใดถูกต้องบ้าง

ยุทธ   ไกยวรรณ์   ได้กล่าวไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลมาครบแล้วการที่ผู้วิจัยจะวิเคราะห์อะไรนั้น ผู้วิจัยจะต้องวางแผนและออกแบบไว้ก่อนแล้วเช่นกัน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ง่ายต่อการนำเสนอ ผู้วิจัยอาจจะกำหนดการวิเคราะห์เอาไว้เป็นตอนๆ ดังนี้
ตอนที่ 1: วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนของข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ...........
ตอนที่ 2: วิเคราะห์แบบสอบถามในส่วนของข้อคำถาม แยกตามความคิดเห็นของ.............
ตอนที่ 3: แบบสอบถามปลายเปิดให้ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับในด้าน...............
ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามหากตอนใดมีเกณฑ์ของผลการวิเคราะห์ผู้วิจัยจะต้องนำเสนอเกณฑ์นั้นด้วย พร้อมบอกแหล่งที่มาของเกณฑ์ด้วยว่า ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของใคร

 สรุป
การวิเคราะห์ข้อมูลคือการจำแนกข้อมูลโดยจัดอันดับความมากน้อย ใหญ่เล็กและจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ การตรวจนับ การตรวจสอบข้อบกพร่องและความเชื่อถือของแหล่งที่มาตลอด การพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาได้นั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ตอบสมมติฐานหรือปัญหาที่ตั้งไว้หรือไม่ การวิเคราะห์ข้อมูลนับว่าเป็นการแสดงหรือการสาธิตผลการทดลองออกมาได้เห็นอย่างชัดเจนมีเหตุผล และนำเอาวิธีการทดลองสถิติมาใช้วิเคราะห์และตีความหมาย ซึ่งจะต้องใช้ประสบการณ์ ความรอบรู้ เหตุผล ความยุติธรรม ความเชื่อได้ ความชำนาญ และหลักการต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์


 อ้างอิง
                รศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์, วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
                 รัตนะ  บัวสนธ์ ( 2552 : 135-144 ) http://www.scphub.ac.th/new_ulib/dublin.php?ID=13399121423 สืบค้นเมื่อ  3 ธันวาคม 2555
                 ยุทธ   ไกยวรรณ์ (2550). หลักการทำวิจัยและวิทยานิพนธ์.ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น