จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)

           http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_2519.html ได้รวบรวมไว้ว่าความเป็นมาและความสำคัญของปัญหานั้นเป็นเสมือนบทนำหรือภูมิหลังของการวิจัยเรื่องนั้นๆ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องการศึกษาวิจัยเรื่องนั้น การเขียนจะมุ่งเน้นความอยากรู้ในเรื่องที่ต้องการศึกษาในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้ได้แนวคิด ทฤษฎี วิธีการหรือองค์ความรู้ใหม่ๆไปใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นการสื่อที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจปัญหาที่ศึกษาว่าคืออะไร มีความสำคัญในแง่มุมใดบ้างที่น่าจะทำการวิจัย 
ข้อมูลที่ผู้วิจัยจะต้องหามาสนับสนุนอย่างน้อยควรมี ๔ ประการ ได้แก่
1. สภาพที่เป็นปัญหาในอดีต ปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคต
2. แนวคิดและทฤษฎี
3. ผลการวิจัยของผู้อื่น
4. กลุ่มเป้าหมายและตัวแปรที่จะศึกษา 
http://agro-industry.rmutsv.ac.th/project_agro/ch_2/f3_intro.html เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นสมควรต้องมีการศึกษาปัญหาพิเศษเรื่องนี้ โดยพยายามกำหนดปัญหาให้ชัดเจนทั้งในด้านการเกิดความรุนแรง การกระจายตัวของปัญหา หรือด้านอื่น ๆ ให้เข้าถึงข้อเท็จจริงของปัญหาอย่างแท้จริง ด้วยการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบสถิติ สอบถามความเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง และแสวงหาเหตุผลที่น่าเป็นไปได้ จากทฤษฎีและสาขาที่เกี่ยวข้อง โดย
  • ย่อหน้าแรก จะต้องอภิปรายถึงความเป็นมา ปัญหา ข้อดี ข้อเสีย หรือข้อโต้แย้งของการทดลองที่ได้ทำการก่อนหน้า
  • ย่อหน้าที่สอง จะต้องอภิปรายถึงความสำคัญ ข้อดีของปัญหา รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องที่เราสนใจจะดำเนินการทำ ควรมีเอกสารหรือที่มาของปัญหาที่ที่อ้างอิงเพื่อสนับสนุนหรือโต้แย้งสิ่งที่เราจะทำการทดลองนั้น
  • ย่อหน้าสุดท้าย ต้องอภิปรายสรุปเป้าหมายของการทดลองที่เราจะทำการทดลองโดยใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อแก้ปัญหาที่งานทดลองที่เราจะทำ และต้องทิ้งท้ายด้วยรูปแบบดังนี้ คือ

ดังนั้นปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขา…………....................…ฉบับนี้ จึงมุ่งศึกษา.............................
………………………….............................……….…เพื่อมุ่งตอบคำถามสำคัญ……..ประการ คือ
1.1.1. ..........................................................................................................
1.1.2. ..........................................................................................................
1.1.3. ..........................................................................................................
หมายเหตุ :
- แต่ละย่อหน้าจะเริ่มพิมพ์ที่ 0.5 นิ้ว
- จะต้องพิมพ์ให้แต่ละย่อหน้าห่างกันด้วยการใช้ "Ctrl + จ"
http://cai.md.chula.ac.th/cgi-bin/sign/post.pl?department=preven&subject=research  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
สรุป
หลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนให้ตรงประเด็นโดยเริ่มจากสภาพปัญหาในระดับมหาภาคไล่ลงมาจนถึงปัญหาระดับจุลภาคและเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยต้องการทำการศึกษาวิจัย เน้นปัญหาถูกจุด ไม่ควรให้ยืดเยื้อให้เนื้อความครอบคลุมประเด็นสำคัญที่จะศึกษาทุกประเด็น ใช้ภาษาง่ายๆจัดลำดับประเด็นที่เสนอเป็นขั้นตอนต่อเนื่องกัน ถ้ามีการอ้างอิงควรอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ปกตินั้นการเขียนส่วนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยมักจะมีเนื้อหาความยาวให้อยู่ประมาณไม่เกิน ๓ หน้าพิมพ์ ซึ่งในส่วนสุดท้ายของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหานั้นให้สรุปเชื่อมโยงกับหัวข้อในวัตถุประสงค์การวิจัยที่จะศึกษาต่อไปด้วย


อ้างอิง
http://agro-industry.rmutsv.ac.th/project_agro/ch_2/f3_intro.html  สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://thethanika.blogspot.com/2011/06/blog-post_2519.html  สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://cai.md.chula.ac.th/cgi-bin/sign/post.pl?department=preven&subject=research  สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น