จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Defenition)


               http://www.nurse.ubu.ac.th ได้รวบรวมและกล่าวถึงการให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย ไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการ  หมายถึง การแสวงหาความรู้ภายใต้การดำเนินการของ นักปฏิบัติที่กลายมาเป็นนักวิจัย หรือผู้ซึ่งทำงานเป็นหุ้น ส่วนกับนักวิจัย เพื่อตรวจสอบประเด็นและปัญหาในสถานที่ทำงานของตนเองเป็นการนำความคิดไปปฏิบัติผ่านกระบวนการที่ เป็นวงจร ซึ่งแต่ละวงจะขึ้นกับวงก่อนหน้า การวิจัยเชิงปฏิบัติการไม่ใช่วิธีการวิจัยบริสุทธิ์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา และนักวิจัยสามารถใช้วิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลได้หลากหลายวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการเป็นทั้งการวิจัยและการปฏิบัติการ

               http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0 ได้กล่าวไว้ว่า การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัยเป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี

        เทียนฉาย  กีระนันทน์.(2547 : 79). ได้กล่าวว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิตตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจความปวด เป็นต้น

สรุป
         คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย ไว้ว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิตตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจความปวด เป็นต้นเป็นข้อความที่กำหนดวิธีการต่างๆที่สามารถนำไปปฏิบัติหรือวัดค่าของตัวแปรนั้นออกมาได้ โดยการระบุกิจกรรหรือการดำเนินงานที่จำเป็นต่อการวัดตัวแปร ซึ่งเปรียบเสมือนคู่มือของผู้วิจัยในการวัดค่าตัวแปรนั้น

อ้างอิง
                  เทียนฉาย กีระนันทน์. (2547). สังคมศาสตร์วิจัย. กรุงเทพฯโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                  http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0 สืบค้นเมื่อ  25 พฤศจิกายน 2555.
                  http://www.nurse.ubu.ac.th สืบค้นเมื่อ  25 พฤศจิกายน 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น