http://www.kromchol.rid.go.th ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบ วิธีวิจัย คือ ระเบียบแบบแผนที่แสดงให้เห็นถึงการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยใน
ครั้งนี้หรือเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือได้ของคำตอบการวิจัยและ
เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องเชิงความคิด เช่น เดียวกับ กระบวนการวางแผน
มีความสอดคล้องสัมพันธ์กันภายในกระบวนการ และสอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัยที่ได้กำหนดไว้
http://www.ictroom.triamudom.ac.th/LinkManager/.../การวิจัย.doc ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัย (Research
Methodology) เป็นแบบแผนของการวิจัย ที่เริ่มตั้งแต่
การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน
1. ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง ( Experiment Research Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ
2 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย
( Descriptive Research Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยมีผู้สำรวจไว้แล้ว
หรือผู้วิจัยทำการสำรวจเอง
http://pibul2.psru.ac.th/~webmaster/research/lesson3.htm
ได้รวบรวมไว้ว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
1.ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการวิจัยในเชิงคุณภาพแบบเจาะจงออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
1.1 จังหวัดที่มีร้านค้าปลีกสมัยใหม่ดำเนินกิจการอยู่ในเขตภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดเชียงใหม่
1.2 จังหวัดที่ไม่มีร้านค้าปลีกสมัยใหม่ดำเนินกิจการอยู่ในเขตภาคเหนือ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่และจังหวัดกำแพงเพชร
2. แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล 3 ลักษณะ ได้แก่
2.1 แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร ได้แก่ ตำราวิชาการ หนังสือพิมพ์ รายสัปดาห์/รายวัน นิตยสาร ตลอดจนบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำมาประกอบการสร้างกรอบแนวคิด ตลอดจนวิธีการศึกษา วิเคราะห์และอภิปรายผล
2.1 แหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร ได้แก่ ตำราวิชาการ หนังสือพิมพ์ รายสัปดาห์/รายวัน นิตยสาร ตลอดจนบทความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำมาประกอบการสร้างกรอบแนวคิด ตลอดจนวิธีการศึกษา วิเคราะห์และอภิปรายผล
2.2 แหล่งข้อมูลประเภทบุคคล ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการค้าปลีกทั้งที่เป็นธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิมและธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ในรูปแบบของการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับบุคคลที่อยู่ในจังหวัดที่ได้คัดเลือกให้เป็นจังหวัดตัวอย่างที่ศึกษา
สรุป
ระเบียบวิธีวิจัย
เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้
คือ
1
วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร
การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน
ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
2
แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ
จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ
หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก
ฯลฯ เป็นต้น
3
ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา
และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา
เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น
อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
4
วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด
ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน
และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
5
วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร
มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น
จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต
หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
6
การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร
จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร
จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้
อ้างอิง
http://www.kromchol.rid.go.th สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://www.ictroom.triamudom.ac.th/LinkManager/.../การวิจัย.doc สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://pibul2.psru.ac.th/~webmaster/research/lesson3.htmสืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น