- สร้างหรือพัฒนา.......................
- หาคุณภาพของ.........................
- หาประสิทธิภาพของ....................
- ประเมินผล......................................
- ศึกษาความพึงพอใจของ.........ที่มีต่อ...........
ดังนั้น การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย มีหลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยและข้อสังเกตในการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้
1. หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางที จะดำเนินการให้ได้คำตอบที่ สามารถนำไปแก้ปัญหาได้อย่างครบถ้วน สรุปได้ดังนี้
1. แยกเป็นข้อๆ ตามมโนทัศน์ของสิ่งที่จะทำ
2. ข้อความวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องชี ให้เห็นผลลัพธ์จากการดำเนินงานวิจัย
3. มีจำนวนข้อมากพอที่ จะอธิบายถึงผลลัพธ์ คุณภาพ ประสิทธิภาพหรือความพึงพอใจ เพื่อที่ จะขยายผลต่อไป
4. ข้อความชัดเจนอ่านเข้าใจ ตีความได้ง่าย
4. ข้อความชัดเจนอ่านเข้าใจ ตีความได้ง่าย
5. เริ่มต้นด้วยคำกริยา
2. ข้อสังเกตในการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
1. มีผลลัพธ์(นวัตกรรม)ที่ จะนำไปแก้ปัญหา
2. มีคำตอบยืนยันว่าผลลัพธ์นั้นได้ผล(ดีคุณภาพและประสิทธิภาพ )
3. (อาจ)มีคำตอบของผู้ใช้(ความพึงพอใจ) เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถขยายผลต่อไปได้
พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2538 : 6) กล่าวว่า
1. เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้หรือทฤษฎี เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นและอยากรู้เหตุผลของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น จึงทำการวิจัยเพื่อหาคำตอบ ทำให้เข้าใจและมีความรู้ใหม่ ๆ เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง
2. เพื่อแก้ไขปัญหา ในการดำรงชีวิตของมนุษย์มักมีปัญหาหรือเหตุขัดข้องขึ้นอยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการทำงาน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการจราจร เป็นต้น มนุษย์จึงต้องทำการวิจัยเพื่อศึกษาสาเหตุและแนวทางแก้ปัญหา
3. เพื่อทดสอบหรือตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรู้และทฤษฎีที่ได้มา เนื่องจากข้อเท็จจริงหรือความรู้มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลา และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการทดสอบว่าความรู้หรือทฤษฎีเหล่านั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหรือไม่
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2535: 55-61) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจมกระจ่าง เช่น
นงลักษณ์ วิรัชชัย (2535: 55-61) ได้กล่าวไว้ว่า การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ การบอกเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายที่นักวิจัยต้องการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วัตถุประสงค์ของการวิจัยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปัญหาวิจัยแต่ไม่เหมือนกันทีเดียว เพราะนักวิจัยส่วนใหญ่นิยมเขียนวัตถุประสงค์เป็นเป้าหมายรวม สิ่งที่ควรระวังในการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ ต้องเขียนสิ่งที่เป็นเป้าหมาย มิใช่สิ่งที่เป็นวิธีการดำเนินงานวิจัย การเขียนต้องใช้ภาษาที่ง่าย สั้น กะทัดรัดและสื่อความได้แจมกระจ่าง เช่น
“เพื่อประมวลปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนจากการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์และนักเรียน ในโรงเรียนประถมศึกษา”
สรุป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ การกำหนดวัตถุประสงค์อย่างแรกที่ใช้ คือ เพื่อบรรยาย ต่อมาก็ เพื่อสำรวจ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ทำได้ง่ายที่สุด สูงขึ้นมาก็คือ เพื่อเปรียบเทียบ สูงขึ้นมาอีกก็คือ เพื่ออธิบาย สูงขึ้นไปอีกก็คือ เพื่อทำนายว่าในอนาคตจะเกิดอย่างไร สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ เพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัย ดีไปกว่านั้นก็คือ เพื่อประเมิน และอันสุดท้าย คือ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบ
อ้างอิง
http://www.vrdp.net/data/Download/6-8-53/3.pdf สืบค้นเมือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). การวิจัยทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นงลักษณ์ วิรัชชัย. “คู่มือการเขียนโครงการวิจัย”. วารสารการวัดผลการศึกษา. ปีที่ 12 ฉบับที่ 35 (ก.ย.-ธ.ค.35).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น