www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc ได้รวบรวมไว้ว่า
ข้อตกลงเบื้องต้นของการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรับล่วงหน้า
โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์และเพื่อจะได้เกิดความเข้าใจตรงกัน เช่น
ข้อตกลงเกี่ยวกับตัวแปร กลุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ
ฯลฯ ตัวอย่างข้อตกลงเบื้องต้นจากเรื่อง “การสร้างแบบสำรวจวิจัยและทัศนคติในการเรียน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสำรวจด้วยความจริงใจ
คะแนนที่ได้จากการตอบแบบสำรวจในเวลาที่ต่างกันไม่ทำให้คะแนนแตกต่างกัน
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm ได้รวบรวมไว้ว่าข้อตกลงเบื้องต้น
(assumptions) เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก
และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมี ความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย
และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ
เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า “คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น
ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง” เป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริง
แล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การวิจัยบางเรื่อง
อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง
เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง
อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน
ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ"
อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น
เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
สรุป
การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ
ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น
ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง
กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ
ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม
ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน
เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ
สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล
การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล
ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น
ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล
ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล
ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล
อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
www.crc.ac.th/e-filing/forms/thesis/chapter2.doc. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น