http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm (2555) ได้รวบรวมไว้ว่า ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
คือ
เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร
และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้
ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา
หรือพัฒนาคุณภาพ
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm (2555) ได้รวบรวมไว้ว่า เป็นการย้ำ
ถึงความสำคัญ ของงานวิจัยนี้ โดยกล่าวถึง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จากการวิจัย
อย่างชัดเจน ให้ครอบคลุมทั้ง ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม
และควรระบุในรายละเอียดว่า ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ ยกตัวอย่าง เช่น
โครงการวิจัยเรื่อง การฝึกอบรมอาสาสมัคร ระดับหมู่บ้าน ผลในระยะสั้น ก็อาจจะได้แก่
จำนวนอาสาสมัครผ่านการอบรมในโครงนี้ ส่วนผลกระทบ (impact) โดยตรง
ในระยะยาว ก็อาจจะเป็น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้น ที่ดีขึ้น ส่วนผลทางอ้อม
อาจจะได้แก่ การกระตุ้นให้ประชาชน ในชุมชนนั้น มีส่วนร่วม ในการพัฒนาหมู่บ้าน ของตนเอง
พจน์ สะเพียรชัย. (2516). กล่าวว่า ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง
ในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม
และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ
หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้น เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้ง
ผลในระยะสั้น และระยะยาว ทั้งผลทางตรง และทางอ้อม และควรระบุในรายละเอียดว่า
ผลดังกล่าว จะตกกับใคร เป็นสำคัญ
สรุป
สรุป
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
คือ
เป็นความสำคัญของการวิจัยที่ผู้วิจัยพิจารณาว่าการวิจัยเรื่องนั้นทำให้ทราบผลการวิจัยเรื่องอะไร
และผลการวิจัยนั้นมีประโยชน์ต่อใคร อย่างไร เช่น
การระบุประโยชน์ที่เกิดจากการนำผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้
หรือนำไปเป็น แนวทางในการปฏิบัติ หรือแก้ปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพ ดังนั้นการวิจัยจะมีประโยชน์อย่างแท้จริงหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความรับผิด
ชอบของนักวิจัย ตลอดจนความร่วมมือของผู้ให้ข้อมูลด้วย
อ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/impact1.htm (2555) สืบค้นเมื่อ 3
ธันวาคม 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm (2555) สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม
2555
พจน์
สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา
เล่ม 1. กรุงเทพฯ:
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น