เทพศักดิ์
บุณยรัตพันธุ์ http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl
e&Id=538654696 กล่าวว่า กรอบแนวความคิดการวิจัย
หมายถึง เป็นการสังเคราะห์หรือบูรณาการแนวคิด ทฤษฎี
หลักการตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
โดยที่ผู้วัจัยได้นำมาพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นโดยตรง จุดมุ่งหมายหลักของการสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คือ
การพัฒนามาเป็น “กรอบ แนวคิดการวิจัย” (conceptual
research framework) หรือ “ตัวแบบของการวิจัย”
(research model) ซึ่งในกรอบแนวคิดหรือตัวแบบของการวิจัยนี้
จะเป็นการพัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเหตุผลเชิงตรรกะ โดยมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ๆ ทั้งหมดที่ต้องการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีเหตุมีผลรองรับทางวิชาการ ทั้ง
นี้การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยควรนำมาจากองค์ความรู้ในพาราไดม์ปัจจุบันของ
ศาสตร์นั้น
บุญธรรม
กิจปรีดาบริสุทธิ์(2549 : 39-40) กล่าวว่า กรอบแนวคิดการวิจัย
เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย
จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ
จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น
จึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องต่อไปนี้
1. ปัญหาหลักที่ต้องการวิจัยคืออะไร และอะไรเป็นปัญหาที่ต้องการทราบกันแน่
2. อะไรเป็นตัวแปรตามและตัวแปรอิสระ
ตัวแปรแทรกและตัวแปรควบคุม
ตัวแปรต่างๆที่นำมาศึกษามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
3. ข้อมูลที่จะใช้ในการวิจัยเรื่องนั้นมีอะไรบ้าง
แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหนและจะเก็บรวบรวมมาได้อย่างไร
4. การหาคำตอบในการวิจัยนั้น
สามารถใช้ระเบียบวิธีวิจัย หรือแบบการวิจัย(research design) ในลักษณะใดได้บ้าง และจะเลือกใช้การวิจัยแบบใด ทำไมจึงเลือกแบบนั้น
5. มีแนวคิดและทฤษฎีอะไรบ้างที่สนับสนุนการวิจัยในปัญหานี้
6. มีข้อตกลงเบื้องต้นในการทำวิจัยเรื่องนี้หรือไม่
มีอย่างไรบ้าง
จากการวิเคราะห์ดังกล่าวนำมาประมวลรวมเป็นกรอบแนวคิดโดยพยายามนำเสนอในลักษณะเป็นรูปธรรม
ซึ่งมักจะทำเป็นแผนผังแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา ประกอบการอธิบาย
รัตนะ บัวสนธ์(2552 : 79) อธิบายไว้ว่า กรอบความคิดการวิจัยนั้น ก็คือ
กรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆนั่นเอง กล่าวคือ
ในขณะที่กรอบเชิงทฤษฎีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัย หรือความสัมพันธ์ของปัจจัย
หรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันกับปัจจัย หรือตัวแปรตาม
หรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา
ซึ่งปัจจัยหรือตัวแปรที่กล่าวนี้มาจากทฤษฎีแนวคิดและผลงานวิจัยต่างๆ
แต่เมื่อจะดำเนินงานวิจัยนักวิจัยได้ปรับลดตัวแปรบางตัวลง
หรือทำให้ตัวแปรบางตัวคงที่ แล้วปรับกรอบเชิงทฤษฎีใหม่
จะได้เป็นกรอบความคิดการวิจัยเพื่อใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นเท่านั้น
หากเปลี่ยนเรื่องดำเนินการวิจัยใหม่
โดยใช้กรอบเชิงทฤษฎีอื่นก็ต้องสร้างกรอบความคิดการวิจัยใหม่อีกเช่นกัน
สรุป
กรอบแนวคิดการวิจัย
เป็นภาพพจน์ที่เป็นแนวคิดในการวิจัยเรื่องนั้น การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย
จะต้องเริ่มจากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นปัญหา
กำหนดปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน และหาแนวทางการค้นหาคำตอบ
จากนั้นประมวลเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยเรื่องนั้น
อ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์.(2552). ปรัชญาการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.
(พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร :
จามจุรีโปรดักท์.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์.
สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2555.
http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=articl
e&Id=538654696.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น