จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

4. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)


 4.1 ทฤษฎี “Constructionism” มีหลักการและแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา  หรือทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ของ Piaget ซึ้งผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ Seymour Papert ศาสตราจารย์แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์  (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกาPapert ได้ให้ความเห็นว่าการเรียนรู้มีพื้นฐานสำคัญ 2 ประการคือ  ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ๆขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ
2.             เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายกับผู้เรียน  ซึ่งกระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพที่สุด  หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียน
         จากทฤษฎี Constructionism และ Constructivism มีรากฐานมาจากทฤษฎีเดียวกัน แนวคิค หลักจึงเหมือนกัน จะมีความแตกต่างไปบ้างที่รูปแบบการปฏิบัติ ซึ่ง “Constructionism” จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช่สื่อ เทคโนโลยี  วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนสร้างสาระการเรียนรู้และผลงานต่างๆด้วยตนเอง ไม่ใช่มุ่งการสอนที่เป็นการป้อนความรู้ให้กับผู้เรียน แต่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากการลงมือทำผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองมีทางเลือกที่มากขึ้นโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองโดยการผสมผสานระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
  4.2 สุรางค์ โคว้ตระกูล กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
4.3 สำนักงานโครงการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ(2542:1-2) กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสสร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้เห็นความคิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้จะมีความมายต่อผู้เรียน จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่ายสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี นอกจากนี้ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ศาสตราจารย์ ดรชัยอนันต์ สมุทวณิช(วชิราวุธวิทยาลัย, 2541 , 8-13) กล่าวไว้ว่า การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเองจะประสบผลสำเร็จได้มากน้อยเพียงใด มักขึ้นกับบทบาทของครูครูจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนให้สอดคล้องกับแนวคิด ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียนเกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในด้านการประเมินผลการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงาน และกระบวนการหรืออาจประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานเป็นต้น
สรุป  การเรียนรู้ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเองจะทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง เกิดความคิดกว้าง เกิดการจดจำที่ยาวนานและจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมก็จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง 
ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ . (2553).การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ .นนทบุรี :บริษัท สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด  
สุรางค์ โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษากรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น