จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1. การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

1.1 Klausmeier (1985:53-185)  ได้อธิบายทฤษฏีการเรียนรู้นี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์   ด้านการทำงานของสมองโดยมีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  และมีการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ 
                  Klausmeier  กล่าวว่าสมองของมนุษย์สามารถเรียนรู้ได้เหมือนการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนดังนี้  การรับข้อมูล   (input)  โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล การเข้ารหัส (encoding)  ทำได้โดยอาศัยชุดคำสั่ง หรือซอฟแวร์ (software) การส่งข้อมูลออก (output) ทำได้โดยผ่านทางอุปกรณ์
       1.2  ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ดังนี้Klausmeier (1985:105) คลอสเมียร์ กล่าวไว้ว่า กระบวนการประมวลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางปรปะสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ การรู้จัก และความเอาใจใส่ ของบุคคลที่รับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-term memory) ความจำจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่แสดงออกมา
Eggen and Kuachak (1997:260) กล่าวไว้ว่า กระบานการทางสมองในการประมวลข้อมูลเรียบเทียบได้กับคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมสั่งงาน การบริหารควบคุมการประมวลของสมองก็คือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมได้ลักษณะนี้เรียกว่า การรู้คิด องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูลประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่างๆ
      1.3 ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
สรุป  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง คือทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองของมนุษย์ก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ เมื่อมนุษย์ได้รับข้อมูลจากสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็จะประมวลผลของข้อมูลแล้วแสดงออกมาทางพฤติกรรม คำพูด เป็นต้น
อ้างอิง   
 ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ . (2553).การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ .นนทบุรี :บริษัท สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด
ทิศนา แขมมณี.(2553). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 สืบค้นเมื่อ 7  กรกฎาคม  2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น